องค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาสกัดองค์ความรู้และจัดทำเป็นคู่มือการจัดการเรียนการสอนแบบ EDPROT Model ที่เป็นต้นแบบของคณะครุศาสตร์
คณะครุศาสตร์ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นในด้านของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควบคู่ไปกับการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม องค์ความรู้ที่จำเป็น (K) ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เป็นต้นแบบของคณะครุศาสตร์ เรื่อง ทักษะการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning และการทาวิจัยอย่างไรให้สาเร็จและมีความสุข
แนวปฏิบัติที่ดีในการเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียนผ่านการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและการนำนักศึกษาไปเรียนรู้นอกสถานที่
การทำคู่มือการพิมพ์ ปัญหาพิเศษและรายงานสัมมนา จัดทำขึ้นเพื่อนักศึกษาใช้ประกอบการจัดทำรูปเล่มปัญหาพิเศษ รวมถึงใช้อ้างอิงการจัดทำรายงานประจำรายวิชา ให ้มีรูปแบบที่ถูกต้อง มีมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ระเบียบ ความก้าวหน้าทางวิชาการ การดำเนินการจัดทำคู่มือเล่มนี้ได้ปรับปรุงและเรียบเรียงใหม่ ให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การหาแนวปฏิบัติที่ดีในการการเก็บข้อมูลงานวิจัยและการนำงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ไปใช้ประโยชน์ในชุมชน เพื่อพัฒนางานวิจัยและชุมชนท้องถิ่นให้สมปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้จัดทำคู่มือการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนออนไลน์ของนักศึกษา ซึ่งคู่มือดังกล่าวได้พัฒนามาจาก แนวปฏิบัติการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์ เพื่อให้ผู้สอนได้ นำไปประยุกต์ใช้กับการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรูปแบบออนไลน์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กำหนดประเด็นการจัดการความรู้ หัวเข้อเรื่องการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา การคิดอย่างมีระบบ การใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21
สำนังานคณบดีวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน จัดทำคู่มือการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณเชิงบูรณาการ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ในชื่อ ลง(พื้นที่/ชมชุน)ง่าย ได้ใจ(ชุมชน) ได้ตังค์(งบประมาณ) เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการลงพื้นที่บริการวิชาการ การวิจัย และการเขียนขออนุมัติงบประมาณของคณาจารย์และบุคลากรวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน
หลักการ PBL: Project Base Learning คือ การออกแบบการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติ โดยการกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดคำถามอยากรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning ) เกิดความต้องการสืบค้นคำตอบที่ถูกอ้างอิงโดยทฤษฏีความรู้ โดยมีการแลกเปลี่ยนกับกลุ่มเพื่อน ร่วมกันปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ยืนยันสมมติฐานคำตอบ เกิดจินตนาการพัฒนาผลงานและนวัตกรรมที่ทำให้การดำรงชีวิตมีคุณภาพ
การวิจัย คือ รากฐานในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศชาติ ชุมชน หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ให้มีความเจริญก้าวหน้าด้วยการใช้งานวิจัยเป็นฐานสร้างองค์ความรู้ ที่เกิดจากแนวคิด เทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรม ร่วมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้มีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อบุคคล สังคม และสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ
เขียน (โครงการ) ง่ายได้ตังค์ (งบประมาณ) คู่มือการเขียนโครงการเชิงบูรณาการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น กับการเรียนการสอน วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
แนวคิดที่สำคัญในการจัดทำโครงการ/กิจกรรมตามแผนต่างๆ ควรมีโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แผนพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และแผนวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน จัดเก็บเป็นคลังโครงการ พร้อมที่จะนำเสนอตามแผนต่างๆ และเมื่อได้เข้าร่วมการจัดทำแผนจึงพร้อมนำเสนอโครงการให้กับคณาจารย์และบุคลากรของวิทยาลัยนั้นเอง
วิทยาลัยนานาชาติได้เล็งเห็นความสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน การวัดและประเมินผลของคณาจารย์ในการผลิตบัณฑิต ให้มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาเพื่อการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์และการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรม นอกจากนั้นในการจัดการเรียนการสอนมีการตั้งประเด็นการจัดการความรู้ในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน การวัดและประเมินผลขึ้น โดยเน้นเรื่องการสอนเป็นสำคัญ
ประเด็นการจัดการความรู้ คือ การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานของศาสตร์พระราชาและการบูรณาการงานวิจัยเพื่อใช้ในการเรียนการสอน บริการวิชาการและการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อปรับปรุง/พัฒนา รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้การบริหารงานวิจัยและการบริการวิชาการของสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นไปอย่างเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้นำการจัดการความรู้มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการทางานรวมไปถึงพัฒนาบุคลากรภายในหน่วยงาน โดยในปีงบประมาณ 2561 ได้ จัดทำแผนการจัดการความรู้ จานวน 1 ขอบเขต เพื่อรวบรวมและจัดการความรู้ของบุคลากร รวมไปถึงสร้างแนวปฏิบัติที่ดีมาจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ ทำการเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษรและสามารถนามาใช้เป็นข้อมูลเพื่อใช้ ประกอบการปฏิบัติงานในส่วนงานต่าง ๆ ได้ โดยได้คัดเลือกองค์ความรู้จานวน 1 องค์ความรู้ ได้แก่ การใช้งานระบบสารสนเทศงานวิจัย
มหาวิทยาลัยได้ออกระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดตำแหน่งของพนักงานให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น เพื่อให้พนักงานสายสนับสนุนมีการพัฒนาตนเองและมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ของตนเอง และนำความรู้ที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาสนับสนุนการให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์และบุคคลทั่วไป
การจัดทำคู่มือสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาฉบับนี้ขึ้นเพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงได้รับประสบการณ์ตรงจากอาจารย์ที่ปรึกษาที่เป็นมาแล้วหลายหมู่เรียนและหลายปีการศึกษาในการถ่ายทอดประสบการณ์ การให้คำปรึกษาในด้านต่าง ๆ แก่นักศึกษารวมถึงแนวปฏิบัติในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสำนักทะเบียนและประมวลผลที่อาจารย์ที่ปรึกษาควรรู้
เขียนโครงการเบิกได้ และทำงานตามโครงการ ได้ง่ายจัง การทํางานในองค์กรทุกองค์กร ย่อมเกิดปัญหาในด้านกระบวนการ ที่ผู้ปฏิบัติงาน ยังไม่เข้าใจ เข้าถึงวิธีการ เทคนิคการทํางานที่ ถูกต้องและเป็นมืออาชีพ ทุกครั้งที่สํานักหอสมุด ด้รับคําสั่งให้เขียนของบประมาณหรือจัดทําโครงการ จะมอบหมายให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เขียนโครงการ และเป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินงานตาม
ปัจจุบัน อินโฟกราฟิก มีบทบาทที่สําคัญต่อหน่วย งานต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยอินโฟกราฟิก เป็นการสื่อความหมายด่วยรูปภาพแทนตัวอักษร ทําให่อินโฟกราฟิกเป็นสื่อที่ตอบสนองการนําเสนอข้อมูลไปยังผู้รับสารได้อย่างดี ห้องสมุดเป็น หน่วยงานหนึ่งที่ต้องจัดทําสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน
แนวปฏิบัติที่ดีและขั้นตอนการทำผลงานเพื่อขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นของพนักงานสายสนับสนุนของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
การจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ โดยการพัฒนาข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์จากการดำเนินงาน อาจารย์ ตลอดจนนักศึกษาที่มีประสบการณ์ตรง และได้มีการร่วมกันสังเคราะห์ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ที่มีความกระชับ และชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษาอาสาช่วยปฏิบัติงาน ชมรมฯ สาขาวิชาต่าง ๆ ในการอาสาสมัครจัดทำทะเบียนวัตถุพิพิธภัณฑ์ สถาบันล้านนาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา ได้ออกแบบและจัดทำระบบจัดการฐานข้อมูลครุภัณฑ์และจัดทำให้เป็นแนวปฏิบัติในการใช้งานระบบให้กับหน่วยงาน
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th
เลขที่ 202 ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5911 โทรสาร 0-5388-5900 lib@cmru.ac.th
ชั้น 6 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 202 ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 Tel : 0-5388-5985-7 Fax : 0-5388-5987