การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Knowledge Management : KM
 

เบอร์ติดต่อ

053-885985-7

โทรสาร

053-885987

PBL: Project Base Learning สู่การจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์


วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน
ประเด็นความรู้  : PBL: Project Base Learning สู่การจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์

องค์ความรู้ที่ได้ :
      แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการกับชุมชนที่เหมาะสมกับผู้เรียนในศตวรรษที่21
โดย อาจารย์ทับทิม เป็งมล อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์

หลักการและเหตุผลที่เลือกองค์ความรู้     
    การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) คือ 3R8C  ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนแบบเดิมไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator)   การจัดการเรียนการสอนมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ และท้าทาย มองเห็นปัญหาเป็นโจทย์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแก้ไข เพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมของการเป็นผู้สร้าง แทนการเป็นผู้ปฏิบัติตามเพียงอย่างเดียว  
    หลักการ PBL: Project Base Learning คือ การออกแบบการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติ  โดยการกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดคำถามอยากรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning ) เกิดความต้องการสืบค้นคำตอบที่ถูกอ้างอิงโดยทฤษฏีความรู้ โดยมีการแลกเปลี่ยนกับกลุ่มเพื่อน ร่วมกันปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ยืนยันสมมติฐานคำตอบ เกิดจินตนาการพัฒนาผลงานและนวัตกรรมที่ทำให้การดำรงชีวิตมีคุณภาพ ในการเรียนรู้แบบ PBL(Problem-Based Learning)ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Communities : PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคน 

สรุปผลการดำเนินงานตามขั้นตอน KM 
1. การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็น (Knowledge Identification)
   วิธีการสู่ความสำเร็จ 
        การจัดกระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบ PBL: Project Base Learning ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับรายวิชา แหล่งเรียนรู้ และผู้เรียน เพื่อการเตรียมความพร้อมของอาจารย์ผู้สอน บนพื้นฐานของระบบการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21
    1.1. วางแผนการเรียนแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน 
    1.2. สร้างความเข้าใจ ระบบการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 เพื่อออกแบบแผนการเรียนรู้ร่วมกัน
    1.3. สร้างการรับรู้ ให้ผู้เรียนตระหนักในคุณค่าของการสร้างประโยชน์เพื่อท้องถิ่น ผ่านการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์

2.  การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
    วิธีการสู่ความสำเร็จ
     การวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียน ผ่านกิจกรรม “ปล่อยของ” การนำเสนอผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ สัมพันธ์กับรายวิชา เพื่อค้นหาความสามารถของแต่ละบุคคล 
    2.1. ชิ้นงาน จากความสามารถพิเศษและความคิดสร้างสรรค์
    2.2. การนำเสนอชิ้นงาน โดยกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน ได้ร่วมกันปฏิบัติและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
    2.3. สรุป ประโยชน์ของชิ้นงานและแนวทางการพัฒนาการปรับปรุงเกิดประโยชน์ต่อวิชาชีพและส่วนรวม

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
    การสำรวจชุมชน เรียนรู้ปัญหาและความต้องการที่สัมพันธ์กับรายวิชา
    วิธีการสู่ความสำเร็จ
     การเข้าร่วมกิจกรรมการวิเคราะห์ชุมชน และการสำรวจสิ่งแวดล้อมของชุมชน ของชุมชน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลบริบทของชุมชน องค์ความรู้ และความต้องการของชุมชน
        3.1. ร่วมรับฟังการวิเคราะห์ชุมชน 
        3.2. เดินสำรวจสิ่งแวดล้อมของชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวตลอดจนพูดคุยเยี่ยมเยียนปราชญ์ชาวบ้าน

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
   วิธีการสู่ความสำเร็จ
    การระดมความคิด และการวิเคราะห์จำแนก และออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน 
     4.1. การนำเสนอความคิดเห็นร่วมกันเพื่อการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์เชิงบูรณาการกับชุมชน 
     4.2. การหาข้อสรุป การทำชิ้นงาน ที่ตรงตามความต้องการของชุมชน และตรงตามศักยภาพของนักศึกษา

5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
   วิธีการสู่ความสำเร็จ
     การลงมือปฏิบัติ โดยใช้กระบวนการ PDCA การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุง ชิ้นงานร่วมกัน ผ่านกิจกรรมดังนี้
         5.1.  วาดภาพแผนที่การท่องเที่ยวของชุมชน จากการสำรวจสิ่งแวดล้อมในชุมชน
         5.2.  เขียนโปรแกรมการท่องเที่ยว สำหรับการท่องเที่ยว 1 วัน และ 2 วัน 1 คืน ให้กับชุมชน
         5.3.  วาดภาพตราสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน ตามความคิดเห็นของชุมชน และนำเสนอให้ชุมชนช่วยกันพิจารณา 
         5.4.  จิตอาสา รักษ์โลก (เก็บขยะ ในเส้นทางท่องเที่ยวของชุมชน) 
         5.5.  การปลูกต้นไม้ในกระถาง (รักษ์โลก) 
         5.6.  สิ่งประดิษฐ์รีไซเคิลจากวัสดุเหลือใช้     

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
    วิธีการสู่ความสำเร็จ
       การสรุปข้อมูล การจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการ โดยใช้ทฤษฏีการเรียนรู้ PBL Project Base Learning
         6.1. การประมวลผลความรู้ภาคทฤษฏี
         6.2. นำเสนอผลการการประยุกต์ใช้องค์ความรู้สู่การปฏิบัติกิจกรรมเชิงบูณาการร่วมกับชุมชน 
         6.3. ปัญหา อุปสรรค ของการเรียนการสอนเชิงบูรณาการการทำงานร่วมกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์
               1. การประสานงานกับชุมชน
               2. ช่วงเวลาไม่ตรงกัน    
               3. การสร้างชิ้นงานเพื่อประโยชน์ต่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง  
               4. ความพร้อมของร่างกาย จิตใจ สุขภาพ
               5. ความต่อเนื่องในการทำกิจกรรม

7. การเรียนรู้ (Learning)
    วิธีการสู่ความสำเร็จ
     การต่อยอดองค์ความรู้ 
        7.1. การนำกระบวนการPBL: Project Base Learning สู่การจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ ประยุกต์ใช้กับรายวิชาอื่นต่อไปและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ตามความเหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนและแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
       7.2. ผลงานของนักศึกษา จัดนิทรรศการแสดง เผยแพร่ในศูนย์การเรียนรู้ของมหาวิยาลัยและชุมชน 
       7.3. สานต่อกิจกรรมจิตอาสา เพื่อปลูกฝังด้านคุณธรรม ให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของการสร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยเขียนโครงการสานต่อกิจกรรมจิตอาสา เข้าสู่แผนงานของสาขาวิชา

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้หลัก PBL: Project Base Learning ในการจัดการเรียนการสอนเชิงบูณรณาการ
    1.  ทำให้ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพของตนเอง มีความภาคภูมิใจ ในการใช้ความถนัดของตนให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา ได้อย่างเหมาะสม
    2.  เปิดโลกทัศน์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน ทำให้ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนรู้
    3.  ผู้เรียนมีทักษะและประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับสังคม และสามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
    4.  ผู้เรียนเกิดทักษะการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์จริง 
    5.  ผู้เรียนมีความตระหนัก และจิตสำนึกในการทำตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

ดาวน์โหลดโบร์ชัวร์เอกสารขุมความรู้ (คลิก...)


ลิงค์หน่วยงานภายนอก

การจัดการความรู้
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Knowledge Management : KM



สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th

สำนักหอสมุด

เลขที่ 202 ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5911 โทรสาร 0-5388-5900 lib@cmru.ac.th

สำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา

ชั้น 6 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 202 ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 Tel : 0-5388-5985-7 Fax : 0-5388-5987

@สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ติดต่อผู้ดูแลระบบ : admin@cmru.ac.th