วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน
ประเด็นความรู้ : เข็มทิศ นำทางชีวิต นักวิจัย
องค์ความรู้ที่ได้ : แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้านงานวิจัย
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมันต์ สะสอง อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมศาสตร์
หลักการและเหตุผลที่เลือกองค์ความรู้
สถาบันการศึกษานอกจากจะมีภารกิจหลักในการสอนแล้ว ยังมีการวิจัยที่ถือเป็นภาระหน้าที่ ที่สำคัญอย่างยิ่งของของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา เพราะการวิจัย คือ รากฐานในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศชาติ ชุมชน หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ให้มีความเจริญก้าวหน้าด้วยการใช้งานวิจัยเป็นฐานสร้างองค์ความรู้ ที่เกิดจากแนวคิด เทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรม ร่วมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้มีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อบุคคล สังคม และสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดการสร้างสถาบันการศึกษาให้เจริญรุ่งเรืองด้วยกระบวนการวิจัย และสร้างเครือข่ายงานวิจัยในทุกภาคส่วน จึงได้จัดกระบวนทัศน์การจัดการความรู้งานวิจัยภายใต้หัวข้อ “เข็มทิศนำทางชีวิตนักวิจัย” เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนักวิจัยใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัยและขอสนับสนุนทุนวิจัยจากแหล่งทุนวิจัย อีกทั้งเป็นการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ และพัฒนานักวิจัยที่มีอยู่เดิมให้มีศักยภาพและพัฒนาความสามารถไปพัฒนาท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น ตลอดจนมีการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและเผยแพร่ในเวทีวิชาการต่อไป
สรุปผลการดำเนินงานตามขั้นตอน KM 7 ขั้นตอน
1. กำหนดความรู้หลักที่จำเป็น (บ่งชี้ความรู้)
วิธีการสู่ความสำเร็จ
สร้างแนวปฏิบัติการเขียนข้อเสนอโครงร่างงานวิจัย เน้นทำวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ในพื้นที่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2. การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
วิธีการสู่ความสำเร็จ
สถานวิจัยวิทยาลัยแม่ฮ่องสอนได้มีการวางแผนในการดำเนินงาน ดังนี้
1) หาประเด็นที่สนใจ ประเด็นที่อยู่ในกระแสสังคม ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิขา ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 12 ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด และประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
2) หาพื้นที่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
3) สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด
4) อบรมเสริมศักยภาพนักวิจัย โดยจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ ติดอาวุธนักวิจัย / หาแหล่งทุน งบประมาณ
5) ประยุกต์ใช้ความรู้ด้วยการหนุนเสริมเติมเต็มความรู้ด้วยระบบกลไกให้แก่นักวิจัย
6) ลงมือฝึกปฏิบัติเขียนโครงการวิจัย
7) ประชุมคณะกรรมการสถานวิจัย
8) ประเมินผลและรายงานความก้าวหน้าต่อคณะกรรมการประจำวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
3. การสร้างความรู้/แนวปฏิบัติ
จัดกิจกรรมเสริมศักยภาพให้แก่นักวิจัยด้วยการฝึกอบรมให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย และรู้ข้อมูลแหล่งทุนที่สนับสนุนงบประมาณการวิจัย
วิธีการสู่ความสำเร็จ
1. ให้ความรู้ / ติดอาวุธให้นักวิจัย
1) อบรมความรู้
- เส้นทางความก้าวหน้า (Career path) ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย
- ทิศทางการสร้างงานวิจัยแบบบูรณาการให้ตอบโจทย์ประเทศ
2) อบรมเชิงปฏิบัติการ Work shop
- เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการอย่างไรให้ได้รับทุน : วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ และนำผลงานไปใช้ประโยชน์
- เทคนิคการนำเสนอโครงการวิจัยและผลงานวิจัยภาษาอังกฤษให้ได้รับการตอบรับในเชิงบวก
• Section 1 : ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
• Section 2 : ด้านมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์
2. แหล่งทุน / งบประมาณ
แหล่งทุนภายใน
- กองทุนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
• วิจัยชั้นเรียน ไม่เกิน 50,000.-
• วิจัยทั่วไป ไม่เกิน 150,000.-
แหล่งทุนภายนอก
- สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)
- ฯลฯ
4. การประยุกต์ให้ความรู้/แนวปฏิบัติในงาน (การเข้าถึงความรู้)
วิธีการสู่ความสำเร็จ
จัดกิจกรรมหนุนเสริมเติมเต็ม โดยมีคลินิกวิจัยเพื่อคอยชี้แนะให้คำปรึกษาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย มีระบบนักวิจัยที่ปรึกษา และระบบนักวิจัยพี่เลี้ยง ให้แก่นักวิจัย ดังนี้
1) Research Clinic
- ให้คำปรึกษาด้านการวิจัย
- ให้คำปรึกษาด้านงบประมาณ
- ฯลฯ
2) ระบบนักวิจัยที่ปรึกษาสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่
3) ระบบนักวิจัยพี่เลี้ยง
5. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำความรู้/แนวปฏิบัติไปใช้
วิธีการสู่ความสำเร็จ
สถานวิจัยวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ได้ใช้เวทีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยและงานบริการวิชาการในชุมชนเป้าหมาย เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นแนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการตรวจสอบได้ว่างานวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ของนักวิจัยนั้นได้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่ชุมชนเป้าหมายได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด หากประสบความสำเร็จก็มีการขยายผลงานวิจัยและบริการวิชาการนั้น ๆ สู่ชุมชนอื่น ๆ และนำข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเหล่านั้นมาพัฒนาเหลาโจทย์วิจัยเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนทุนวิจัยจากแหล่งงบประมาณต่าง ๆ ในครั้งต่อไป
6. การปรับปรุงแนวปฏิบัติเป็นชุดความรู้
วิธีการสู่ความสำเร็จ
1) ประชุมทวนสอบจุดอ่อน/ปัญหาอุปสรรค งานวิจัยที่มีคุณภาพไม่ถึงเกณฑ์
2) กำหนดแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยให้เป็นไปตามเกณฑ์
3) ปรับปรุงแผนพัฒนาคุณภาพ แผนปฏิบัติการประจำปี หรือแผนการดำเนินงาน โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของงานวิจัย
4) เชิญผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์เพื่อเสริมเติมเต็มงานวิจัยให้สมบูรณ์
5) เผยแพร่ผลงานวิจัยในแวดวงวิชาการ
7. การประเมินผลการดำเนินงานและรายงานเชิงบูรณาการ
ที่ผ่านมามีนักวิจัยของวิทยาลัยแม่ฮ่องสอนเขียนโครงร่างงานวิจัยเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณอุดหนุนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นและมีการบูรณาการกับการเรียนการสอน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 – 2562 ดังนี้
ดาวน์โหลดโบร์ชัวร์เอกสารขุมความรู้ (คลิก...)
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th
เลขที่ 202 ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5911 โทรสาร 0-5388-5900 lib@cmru.ac.th
ชั้น 6 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 202 ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 Tel : 0-5388-5985-7 Fax : 0-5388-5987