การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Knowledge Management : KM
 

เบอร์ติดต่อ

053-885985-7

โทรสาร

053-885987

การเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และกระบวนการในการนำนักศึกษาไปเรียนรู้นอกสถานที่


คณะเทคโนโลยีการเกษตร
“การเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และกระบวนการในการนำนักศึกษาไปเรียนรู้นอกสถานที่”

องค์ความรู้ที่ได้        
    แนวปฏิบัติที่ดีในการเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียนผ่านการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมและการนำนักศึกษาไปเรียนรู้นอกสถานที่

เหตุผลที่เลือกองค์ความรู้  :  
    สังคมโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานและการดำเนินชีวิตมากขึ้น ผู้ที่สามารถปรับตัวมีทักษะด้านการสื่อสาร การแก้ไขปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิพากษ์และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตามความคาดหวังขององค์กร ย่อมเป็นที่ต้องการของสถาบันองค์กรต่าง ๆ ดังนั้น การพัฒนาเยาวชนยุคใหม่เพื่อให้ก้าวทันสู่โลกแห่งอนาคต โดยอาศัยกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับสังคมโลกนั้น จึงไม่ควรแต่มุ่งให้ผู้เรียน เรียนรู้แค่เนื้อหา สาระวิชาในห้องเรียนเท่านั้น แต่ผู้เรียนควรเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายนอกห้องเรียนและควรฝึกทักษะที่จำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตและการทำงานในศตวรรษใหม่
 
ตัวชี้วัด (KPI) :  
    1)  ได้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายเน้นทฤษฎีและการปฏิบัติ การเรียนรู้จากผู้ประกอบการ และการศึกษาดูงาน
    2)  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีแนวปฏิบัติที่ดีในการเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และกระบวนการนำนักศึกษาไปเรียนรู้นอกสถานที่ ในระดับมาก (ระดับ 3.51)
    3)  ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และกระบวนการนำนักศึกษาไปเรียนรู้นอกสถานที่ ในระดับมาก (ระดับ 3.51)

เป้าหมาย :    
    1. อาจารย์ผู้สอนมีการแบ่งปันความรู้เรื่องการเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และกระบวนการนำนักศึกษาไปเรียนรู้นอกสถานที่
    2. อาจารย์ผู้สอนมีความเข้าใจในแนวปฏิบัติที่ดีและนำไปใช้ได้จริง 
    3. นักศึกษาเรียนมีการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้จากสถานที่จริงก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

สรุปผลการดำเนินงานตามกระบวนการจัดการความรู้  (KM)
1.  การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็น (การบ่งชี้ความรู้)
    การจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายเน้นทฤษฎีและการปฏิบัติ การเรียนรู้จากผู้ประกอบการ การศึกษาดูงาน เป็นต้น การจัดกิจกรรมการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพนักศึกษาระหว่างเรียนเพื่อเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ การทำงาน การประกอบอาชีพ
วิธีการสู่ความสำเร็จ 
    ประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ของคณะเพื่อวางแผนแนวทางการดำเนินงานทำให้เกิดกิจกรรมการบ่งชี้ความรู้ มีการวิเคราะห์ทบทวนการจัดการความรู้ในตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 พบว่าการเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และกระบวนการนำนักศึกษาไปเรียนรู้นอกสถานที่ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ตามโครงสร้างหลักสูตรที่กำหนด และได้พัฒนาตามกรอบมาตรฐาน TQF
        
2.  การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ (การสร้างและแสวงหาความรู้)
    การสำรวจคณาจารย์ในคณะที่มีความรู้และประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่มีการจัดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้นอกชั้นเรียน ผ่านการบูรณาการกับงานวิจัย การบริการวิชาการทางสังคมและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
วิธีการสู่ความสำเร็จ
    เชิญ ผศ.ดร.สุพจน์ บุญแรง อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์มาให้ความรู้ ในด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านโจทย์วิจัยชุมชน ในรายวิชาการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร โดยมีการจัดการเรียนการสอนทฤษฎีและฝึกปฏิบัติตามรายละเอียด มคอ.3 ที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งการประเมินทักษะการเรียนรู้ที่ได้ของนักศึกษา
  
3.  การสร้างความรู้/แนวปฏิบัติ  (การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลและกลั่นกรองความรู้)
    การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผู้สอนที่มีการเสริมทักษะการเรียนรู้นอกห้องเรียน และนำนักศึกษาไปเรียนรู้นอกสถานที่ ในภาคเรียนที่ 2/2561 เพื่อการประมวลและกลั่นกรองความรู้
 วิธีการสู่ความสำเร็จ
    เสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียนดังนี้
    •  การศึกษาดูงานที่โรงงาน Premium Food Ltd. วิสาหกิจชุมชนบ้านแคว (ด้านการแปรรูปผัก ผลไม้) และโรงงานแคบหมูแม่แช่ม
    •  การจัดโครงการผู้ประกอบการเกษตรและอาหารรุ่นใหม่ นำนักศึกษาเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการ ณ Monkey Farm Oraganic Thailand

4.  การประยุกต์ใช้ความรู้/แนวปฏิบัติในงาน (การเข้าถึงความรู้)
    การจัดทำแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียนผ่านการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 
     วิธีการสู่ความสำเร็จ
    •  เผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดี การเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียนผ่านการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในเว็บไซต์คณะเทคโนโลยีการเกษตร 
    •  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณาจารย์ในคณะ หัวข้อ การเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียนผ่านการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในกิจกรรม “การจัดการความรู้ด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการบูรณาการวิจัย” ประจำปี 2562 วันที่ 13 พฤษภาคม 2562 ห้องวิมาน โรงแรมดิเอ็มเพลส จังหวัดเชียงใหม่ 

5.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำความรู้/แนวปฏิบัติไปใช้ (การแบ่งปันแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ การเรียนรู้) 
    การจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กิจกรรม “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้” ประจำปี 2562 วันที่ 10 พฤษภาคม 2562 ห้องประชุมเอื้องสำเภางาม ชั้น 2 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
วิธีการสู่ความสำเร็จ
    •  การนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี การเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียนผ่านการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยอาจารย์ธิดารัตน์ หน่อสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร ในกิจกรรม “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้” ประจำปี 2562 วันที่ 10 พฤษภาคม 2562 ห้องประชุมเอื้องสำเภางาม ชั้น 2 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
      
6.  การปรับปรุงเป็นชุดความรู้/แนวทางปฏิบัติ
    ปรับปรุงแนวปฏิบัติที่ดี การเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียนผ่านการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตามข้อเสนอแนะที่ได้จากการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ KM ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร 
วิธีการสู่ความสำเร็จ
    •  อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตรนำแนวปฏิบัติ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา

7.  การประเมินผลการดำเนินงานและรายงานต่อมหาวิทยาลัย 
ประเมินผลตามตัว KPI ที่กำหนด ได้ผลดังนี้
ประเด็นตัวชี้วัด (KPI) :
    1)  ได้แนวปฏิบัติที่ดีในการเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และกระบวนการนำนักศึกษาไปเรียนรู้นอกสถานที่
    2)  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีแนวปฏิบัติที่ดีในการเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และกระบวนการนำนักศึกษาไปเรียนรู้นอกสถานที่ ในระดับมาก (ระดับ 3.51)
    3)  ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และกระบวนการนำนักศึกษาไปเรียนรู้นอกสถานที่ ในระดับมาก (ระดับ 3.51)
ผลการดำเนินงาน
    1)  แนวปฏิบัติที่ดีในการเสริมทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษานอกชั้นเรียนผ่านการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
    2)  ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.81
    3)  ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.78
วิธีการสู่ความสำเร็จ
    •  การจัดทำแบบประเมิน เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนการสอน
    •  จัดทำรายการผลการประเมินต่อคณะ และมหาวิทยาลัย 


ลิงค์หน่วยงานภายนอก

การจัดการความรู้
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Knowledge Management : KM



สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th

สำนักหอสมุด

เลขที่ 202 ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5911 โทรสาร 0-5388-5900 lib@cmru.ac.th

สำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา

ชั้น 6 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 202 ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 Tel : 0-5388-5985-7 Fax : 0-5388-5987

@สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ติดต่อผู้ดูแลระบบ : admin@cmru.ac.th