วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน
ประเด็นความรู้ การถ่ายทอดองค์ความรู้ในงานสู่การปฏิบัติ เรื่อง ลง(พื้นที่/ชมชุน)ง่าย ได้ใจ(ชุมชน) ได้ตังค์(งบประมาณ)
โดย นายภูดิท อักษรดิษฐ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
หลักการและเหตุผลที่เลือกองค์ความรู้
การค้นคว้าความรู้ที่สำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายของวิทยาลัยแม่ฮ่องสอนคงไม่พ้นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ หรือเป้าหมายที่เราอยากจะเป็นนั้นก็คือ “วิทยาลัยแม่ฮ่องสอนเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” ซึ่งจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นสถานที่ตั้งของวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน และในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยแม่ฮ่องสอนจะต้องมีสอดคล้องสกับแผนพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอนอีกด้วย จากประสบการทำงานของนักวิเคราะห์นโยบายและแผน สังกัดวิทยาลัยแม่ฮ่องสอนได้ศึกษา ค้นคว้าความรู้ในตำแหน่งนี้มาโดยตลอด ซึ่งจากเดิมนั้นตำแหน่งนี้ ไม่มีบุคลากรทำงานนี้ จึงไม่มีทั้งพี่เลี้ยง หรือแม้แต่กระทั้งเอกสารที่ดำเนินงานเกี่ยวกับตำแหน่งนี้เลย ทำให้ไม่ทราบกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
จากปัญหาในครั้งนั้นก็ทำให้เกิดแนวความคิดในการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ที่สำคัญในตำแหน่งนี้มากยิ่งขึ้นไป และได้มีโอกาสได้ร่วมงานการจัดทำแผนต่างๆ กับทางจังหวัดแม่ฮ่องสอนซึ่งเป็นหน่วยงานภายนอก ซึ่งเป็นแหล่งงบประมาณที่เป็นการบูรณางานวิชาการกับหน่วยงานต่างๆในจังหวัดแม่ฮ่องสอน อาทิ เช่น ในปีงบประมาณที่ผ่านมาผมได้เอาร่วมการจัดทำแผนโครงการในพระราชดำริซึ่งจัดทำเป็นแผนแม่บท 5 ปี และได้จัดโครงการตามงบประมาณให้สอดคล้องบรรจุในแผนดังกล่าว และร่วมจัดทำแผนการพัฒนาการศึกษาชายแดนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งทาง สพฐ,เขตที่ 1 จังหวัดแม่ฮ่อง โดยให้ความสำคัญในการผลิตครูคืนถิ่นในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและช่วยพัฒนาบุคลากรครูในจังหวัด สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ใหม่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายระย 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (พ.ศ.2559 - 2563) ฉบับปรับปรุงปี 2560 และแผนยุทธศาสตร์วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน 5 ปี พ.ศ. 2561 – 2565 และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอีกด้วย
การออกไปทำแผนร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จึงทำให้เกิดแนวคิดที่สำคัญในการจัดทำโครงการ/กิจกรรมตามแผนต่างๆ ควรมีโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แผนพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และแผนวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน จัดเก็บเป็นคลังโครงการ พร้อมที่จะนำเสนอตามแผนต่างๆ และเมื่อได้เข้าร่วมการจัดทำแผนจึงพร้อมนำเสนอโครงการให้กับคณาจารย์และบุคลากรของวิทยาลัยนั้นเอง แต่การที่จะได้โครงการที่ดีสอดคล้องตามแผนนั้นก็ต้องผ่านการค้นคว้า ศึกษาหาข้อมูลแนวทางในการจัดทำซึ่งใช้เวลามาก และพบปัญหาต่างๆ ในการเขียนโครงการ อาทิเช่น เขียนหลักการและเหตุผลไม่สอดคล้อง วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดไม่สอดคล้องและไม่สามารถวัดประเมินผลได้ เขียนค่าใช้จ่ายไม่ถูกต้อง ไม่ถูกระเบียบ กิจกรรมกับงบประมาณไม่สอดคล้องกับบ้าง ทำให้ต้องกลับมาแก้ไขใหม่หลายครั้ง เขียนแล้วเบิกไม่ได้ เขียนไม่ชัดเจน เป็นต้น ทำให้เมื่อเขียนขออนุมัติโครงการจากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โครงการวิจัย โครงการบูรณาการกับท้องถิ่น โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น หรือแม้กระทั่งโครงการภายในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงทำให้ไม่ได้รับอนุมัติงบประมาณ
ดังนั้น ฝ่ายนโยบายและแผน สำนังานคณบดีวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน จึงคิดจัดทำคู่มือการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณเชิงบูรณาการ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ในชื่อ ลง(พื้นที่/ชมชุน)ง่าย ได้ใจ(ชุมชน) ได้ตังค์(งบประมาณ) นี้ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการลงพื้นที่บริการวิชาการ การวิจัย และการเขียนขออนุมัติงบประมาณของคณาจารย์และบุคลากรวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน
สรุปผลการดำเนินงานตามขั้นตอน KM 7 ขั้นตอน
1. การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็น (บ่งชี้ความรู้)
การจัดทำงบประมาณนั้นเป็นกระบวนการสำคัญเพื่อให้ได้แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย/วิสัยทัศน์ ที่เราอยากจะเป็นนั้นก็คือ “วิทยาลัยแม่ฮ่องสอนเป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” ซึ่งวิทยาลัยแม่ฮ่องสอนได้จัดทำ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ให้มีความสอดคล้องอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เราบรรลุเป้าหมาย ในปีงบประมาณ 2561 ได้พัฒนาให้เห็นผลชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตามกรอบแนวคิด เพื่อขับเคลื่อน โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยการขัยเคลื่อนของ อ.ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดีม.ราชภัฏเชียงใหม่
2. การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ (การสร้างและแสวงหาความรู้)
ได้ศึกษาเอกสาร หนังสือ ตำรา แนวการในการจัดทำงบประมาณ การประกันคุณภาพการศึกษา ร่วมถึงการอบรมเชิงปฏิบัติการต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเองและงานที่ได้รับหมอบหมาย อาทิเช่น เข้าร่วมการอบรมการเขียนโครงการเชิงบูรณาการ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตส์ ในปีงบประมาณ 2560 ทำให้ได้ความรู้เรื่อง “สมการ/Simple Rule” ของการคิดเชิงกลยุทธ์
เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปีงบประมาณ 2561 ทำให้ได้ความรู้เรื่อง “การ Re-Profile แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้เข้ากับมหาวิทยาลัย”
และในปีงบประมาณ 2562 ได้ศึกษากระบวนการแสวงหาความรู้ใหม่ ผ่านกระบวนการปฏิบัติร่วมกันของชุมชนท้องถิ่นที่ก่อให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง/การพัฒนา เป็นงานของคนท้องถิ่น เพื่อคนท้องถิ่น เน้นการมาร่วมทำวิจัยของชาวบ้าน เจ้าของปัญหาเป็นผู้ปฏิบัติการลงมือทำวิจัยเอง เพื่อแก้ไขปัญหา นั้นคือ การการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR : Community Based Research)
3. การสร้างความรู้/แนวปฏิบัติ (การจัดความรู้ให้เป็นระบบ และการประมวลผลและกลั่นกรองความรู้)
ได้ใช้กระบวนการการจัดการความรู้ KM ในการจัดทำแนวปฏิบัติการเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณเชิงบูรณาการร่วมกับคณบดี รองคณบดี หัวหน้าภาค และหัวหน้าสำนักงาน เพื่อร่วมรวมสร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการขออนุมัติโครงการ ซึ่งได้กระบวนการในการจัดทำโครงการ และ ได้(ร่าง) คู่มือการเขียนโครงการเชิงบูรณาการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับการเรียนการสอน เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงจึงสร้างช่องทาง Download ในเว็ปไซต์ของวิทยาลัยและเผยแพร่ให้บุคลากรได้รับทราบผ่านการประชุมประจำเดือนของวิทยาลัย
4. การประยุกต์ให้ความรู้/แนวปฏิบัติในงาน (การเข้าถึงความรู้)
ดำเนินการประยุกต์ให้ความรู้ในการจัดการความรู้ KM ประจำปีของวิทยาลัยเพื่อเป็นการอบรมการใช้คู่มือฯ ให้กับบุคลากรวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน และประยุกต์ให้ความรู้ในกระบวนการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วยดำเนินงาน 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การเตรียมการ เตรียมชุมชน ใช้เวทีประชุมชี้แจง
ระยะที่ 2 ระยะดำเนินการ
ระยะที่ 3 การสรุปผลและเขียนแผนการวิจัย
5. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำความรู้/แนวปฏิบัติไปใช้
ได้นำคู่มือและแนวปฏิบัติไปใช้ในการเขียนโครงการในปีงบประมาณ 2562 และได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลกับบุคลากรวิทยาลัยแม่ฮ่องสอนเพื่อนำมาปรับปรุงคู่มือให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
6. การปรับปรุงเป็นชุดความรู้/แนวปฏิบัติ
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในนั้น ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ กับบุคลากรวิทยาลัยแม่ฮ่องสอนเพื่อนำมาปรับปรุงคู่มือให้มีความสมบูรณ์ ความเหมาะสมต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น ในชื่อ “ลงพื้นที่(ง่าย) ได้ใจ(ชุมชน) ได้ตังค์ (งบประมาณ) ” และในปีงบประมาณ 2562 ปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอให้สื่อสารและเข้าใจ ในชื่อ “ลง(พื้นที่/ชมชุน)ง่าย ได้ใจ(ชุมชน) ได้ตังค์(งบประมาณ)” เป้าประสงค์เพื่อ นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง และพัฒนาชุมชนเป้าหมายในด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สิ่งแวดล้อม และสังคม
7. การประเมินผลการดำเนินงานและการบูรณาการงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ในปีงบประมาณ 2562
ในปีงบประมาณ 2562 ได้รบอนุมัติงบประมาณเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2561 คิดเป็น 82.61% และเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ปีบประมาณ 2560 – 2561 จะเห็นถึงงบประมาณที่ได้เพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน นี้ก็คือการวัดผลสำเร็จของกระบวนการจัดการความรู้จากคู่มือ/แนวปฏิบัติที่ดีเรื่อง “ลง(พื้นที่/ชมชุน)ง่าย ได้ใจ(ชุมชน) ได้ตังค์ (งบประมาณ) ”
ดาวน์โหลดโบร์ชัวร์เอกสารขุมความรู้ (คลิก...)
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th
เลขที่ 202 ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5911 โทรสาร 0-5388-5900 lib@cmru.ac.th
ชั้น 6 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 202 ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 Tel : 0-5388-5985-7 Fax : 0-5388-5987