การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Knowledge Management : KM
 

เบอร์ติดต่อ

053-885985-7

โทรสาร

053-885987

“เขียนประเมินค่างานอย่างไรให้ผ่าน” (How to write the job evaluation)


 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

“เขียนประเมินค่างานอย่างไรให้ผ่าน”

(How to write the job evaluation)

องค์ความรู้ที่ได้ :  “เทคนิคการเขียนประเมินค่างาน”

หลักการและเหตุผลที่เลือกองค์ความรู้:

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้วยการส่งเสริมให้จัดทำผลงานเพื่อขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น
  2. เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และการวางเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path)  ให้กับบุคลากรในหน่วยงาน
  3. เพื่อส่งผลให้การดำเนินงานของสำนักฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  

 

ตัวชี้วัด (KPI) :

          บุคลากรสามารถเขียนประเมินค่างานได้ 1 คน

เป้าหมาย:

          1.  เพื่อเป็นการช่วยกันวิเคราะห์หาภาระงานของแต่ละตำแหน่ง และสามารถกำหนดทิศทางการปฏิบัติงานของแต่ละตำแหน่งได้

          2.  บุคลากรสามารถมีแนวทางในการเขียนประเมินภาระงานได้

สรุปผลการดำเนินการตามขั้นตอน KM

ตามแผนการจัดการความรู้  “เขียนประเมินค่างานอย่างไรให้ผ่าน” (How to write the job evaluation) จากกระบวนการสกัดความรู้ จำนวน 7 ขั้นตอน มีผลการดำเนินงานรายละเอียดดังนี้

 

1.  การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็น (Knowledge Identification)

               วิธีการสู่ความสำเร็จ

  • กำหนดขอบเขตความรู้ที่ต้องการ คือ กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอน วิธีการ และตัวอย่างที่ดีในการทำผลงาน

  • ศึกษาจากแบบฟอร์มและตัวอย่าง แบบคำขอรับการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ กรณีปฏิบัติงานเฉพาะด้านหรือเฉพาะทาง ระดับชำนาญการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  • ศึกษาในเว็บไซต์ของ http://www.dhrm.cmru.ac.th

  • คู่มือการทำผลงานเพื่อขึ้นสู่ชำนาญการ สำนักศิลปะและวัฒนธรม จากการจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ ปีงบ 2562

  • ศึกษาข้อมูล บน Internet YouTube ของ อาจารย์เรืองชัย

 

          2.  การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)

               วิธีการสู่ความสำเร็จ

     2.1  การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้  ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุมเจ้าชื่น
สิโรรส อาคารเทพรัตนราชสุดา โดยคณะกรรมการการจัดการความรู้ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งจากการพูดคุย สรุปได้ว่า ในการกำหนดหัวข้อภาระงานที่จะนำมาเขียนในประเมินค่างานนั้น ควรพิจารณากลั่นกรอง มาจาก 3 ส่วน ดังนี้

  • ภาระงานของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม (ศึกษาจากแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี)

  • ภาระงานตามกลุ่มงาน  (ศึกษาจากกรอบอัตรากำลัง)

  • ภาระงานในตำแหน่ง (ศึกษาจากมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง) และภาระงานที่ปฏิบัติจริง (ภาระงานเพียงพอและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ)

 

2.2 จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้มีความรู้และมีประสบการณ์ ในวันที่
6 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุมเจ้าชื่น สิโรรส ได้เชิญ คุณกมลรัตน์ แสนใจงาม ผู้อำนวยการ
กองบริหารงานบุคคล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มาแลกเปลี่ยนในการกำหนดภาระงานตามกรอบมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และมีภาระงานเพียงพอต่อการประเมินค่างาน

 

          3.  การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)

              วิธีการสู่ความสำเร็จ

              3.1  ขณะทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยน มีผู้บันทึกความรู้และบันทึกภาพ ขณะทำกิจกรรม
การแลกเปลี่ยน และจัดทำบันทึกรายงานผลผู้อำนวยการ

              3.2  ตารางสรุป หัวข้อการจัดทำผลงานขอตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม จากกิจกรรมการจัดการความรู้ ปีงบประมาณ 2563 (วันที่ 3 และ 6 กุมภาพันธ์ 2563)

 

 

 

          4.  การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)

               วิธีการสู่ความสำเร็จ

     4.1 จากกิจกรรมทำให้สามารถร่วมกันพิจารณาภาระงาน และได้ตารางสรุป หัวข้อการจัดทำผลงานขอตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม จากกิจกรรมการจัดการความรู้ ปีงบประมาณ 2563 (วันที่ 3 และ 6 กุมภาพันธ์ 2563) ซึ่งได้พิจารณาจากกลุ่มงานทั้ง 3 งาน และการแบ่งภาระงานภายในกลุ่ม โดยร่วมกัน กำหนดหัวข้อ การทำคู่มือปฏิบัติงาน งานวิจัย
ที่สามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานได้ ภายหลังกิจกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมประเมินผลความรู้ความเข้าใจ อยู่ที่ระดับมาก  คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.17 และการประเมินความพึงพอใจ อยู่ที่ระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.48

     4.2 เทคนิคและวิธีการเขียนประเมินค่างาน จากประสบการณ์และการสอบถามผู้รู้
การสืบค้นทางเว็บไซต์ โดยนำมาสังเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน แล้วได้แนวทางการเขียนที่สามารถอธิบายให้กับผู้ประเมินสามารถเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยได้จัดทำเทคนิคในรูปแบบของ Infographic และเพิ่มเติมรายละเอียดข้อมูลของรูปแบบการเขียนประเมินค่างาน ในคู่มือการทำผลงานเพื่อขึ้นสู่ชำนาญการ (คู่มือจากกิจกรรมการจัดการความรู้ ปีงบประมาณ 2562)

 

 

5.  การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)

     วิธีการสู่ความสำเร็จ

     ผู้บริหารสนับสนุน ติดตาม ให้บุคลากรอย่างน้อย 1 ท่าน ที่มีความพร้อม ในการจัดทำหัวข้อภาระงานที่สอดคล้องกับภาระงานของหน่วยงาน และเขียนในแบบฟอร์มประเมินค่างาน
ว่าสามารถเขียนให้สามารถอ่านเข้าใจได้ และอธิบายภาระงานได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เขียนมาว่าใช่หรือไม่ มีการจัดการประชุมเพื่อพิจารณาผลการเขียนประเมินค่างาน โดยร่วมกันพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข รวมทั้งให้ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกตรวจทานพิจารณาแก้ไข  ก่อนนำเสนอมหาวิทยาลัยต่อไป

 

6.  การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)

               วิธีการสู่ความสำเร็จ

                ภายหลังจากกิจกรรมทุกครั้ง ได้มีการบันทึกผลกิจกรรมรายงานต่อผู้อำนวยการ และ
ได้มีการเผยแพร่ผ่านระบบ e-document ภายในหน่วยงาน และการเผยแพร่ ผลสรุปความรู้จากกิจกรรม ทำให้ได้ “เทคนิคการเขียนประเมินค่างาน” และ “คู่มือการขึ้นสู่ชำนาญการ” (ฉบับปรับปรุง)  โดยผ่านกลุ่ม Facebook และกลุ่ม line ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเชียงใหม่  เพื่อให้บุคลากรได้รับทราบและนำไปใช้ประโยชน์  ได้ทำการประเมินความคิดเห็นของบุคลากร ว่ามีความเข้าใจ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.38 และความพึงพอใจ อยู่ในระดับ มาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.35  จากนั้นนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงเทคนิคและคู่มือ จากนั้นนำไปรายงานบนเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม (http://www.culture.cmru.ac.th/web60/qa/ manual) และเว็บไซต์ KM ของมหาวิทยาลัย (www.km.cmru.ac.th)

 

7.  การเรียนรู้ (Learning)

               วิธีการสู่ความสำเร็จ

1)   ผู้บริหารติดตาม และ ผลักดันให้บุคลากรดำเนินการนำความรู้ไปใช้ 

2)   ผู้บริหารติดตามการจัดทำผลงาน

                             -  คู่มือปฏิบัติงาน  (ไม่มีอายุ แต่ต้องมีการปรับให้เป็นปัจจุบัน)

                             -  งานวิจัย/งานวิเคราะห์/งานสังเคราะห์ (มีอายุ 5 ปี)

                             -  ประเมินค่างาน (มีอายุ 1 ปี)

สำนักฯ จะดำเนินการจัดการประชุมเพื่อตรวจสอบการเขียนผลงาน โดยมีผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก เพื่อช่วยอ่านและวิเคราะห์ผลงาน ให้บุคลากรนำไปพัฒนาแนวทางและพัฒนาปรับปรุงผลงานของตนเอง

               ในการสนับสนุนบุคลากรที่มีความพร้อมในการจัดทำผลงานเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น
โดยเริ่มเขียนภาระงานทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามแผนงานพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งผู้บริหารพยายามผลักดันบุคลากรอย่างน้อย 1 คน ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ตามตัวชี้วัดของแผนการจัดการความรู้ ปีงบประมาณ 2563  คือ นางสาวปนัดดา โตคำนุช นักวิชาการศึกษา อยู่ระหว่างการเขียนประเมินค่างาน ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อเสนอแนะของผู้บริหาร
ในการให้ข้อเสนอแนะ และคาดว่าจะนำเสนอผลงานให้กับมหาวิทยาลัย ภายในปีงบประมาณ 2563

 

 

เอกสารดาวน์โหลด  :  1.   คู่มือการทำผลงานเพื่อขึ้นสู่ชำนาญ (ปรับปรุง ปีงบประมาณ 2563)

                          2.   แผ่นความรู้เทคนิคการเขียนประเมินค่างาน  


ลิงค์หน่วยงานภายนอก

การจัดการความรู้
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Knowledge Management : KM



สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th

สำนักหอสมุด

เลขที่ 202 ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5911 โทรสาร 0-5388-5900 lib@cmru.ac.th

สำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา

ชั้น 6 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 202 ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 Tel : 0-5388-5985-7 Fax : 0-5388-5987

@สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ติดต่อผู้ดูแลระบบ : admin@cmru.ac.th