การจัดการความรู้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปี 2561
“การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์”
กระบวนการจัดการความรู้
1) การกำหนดความรู้หลักที่จำ คือ เทคนิคการใช้แบบสอบถามออนไลน์สำหรับการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
• ประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อกำหนดประเด็นความรู้
2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ โดยผู้บริหาร และคณะกรรมการการจัดการความรู้ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยจัดหาวิทยากรมาช่วยแชร์ประสบการณ์ความรู้ในการจัดทำแบบสอบถามออนไลน์สำหรับการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
• คณาจารย์ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เข้าร่วมโครงการร่วมรับฟังการแชร์ประสบการณ์ และร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการจัดทำการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3) การสร้างความรู้/แนวปฏิบัติการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์
• ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการใช้แบบสอบถามออนไลน์ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างแนวปฏิบัติในการจัดทำการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์
4) การประยุกต์ใช้ความรู้/แนวปฏิบัติในงาน โดยการแจ้งในที่ประชุมอาจารย์ ประจำภาคเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจกับคณาจารย์
• แจ้งในที่ประชุม เพื่อประชาสัมพันธ์แนวปฏิบัติการใช้แบบสอบถามออนไลน์สำหรับการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
• เผยแพร่แนวปฏิบัติการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์
5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การนำความรู้/แนวปฏิบัติไปใช้
• จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM สัญจร
• การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ในเวทีตลาดนัด KM ระดับมหาวิทยาลัย
6) การปรับปรุงเป็นชุดความรู้/แนวปฏิบัติ
• นำผลจากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาจัดทำเป็นคู่มือการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์
7) การประเมินผลการดำเนินงาน และรายงานต่อมหาวิทยาลัย
• จัดประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยต่อไป
กิจกรรมครั้งที่ 1 วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม 2561
• จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KM สัญจรในหัวข้อ “แนวปฏิบัติการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์” โดยการเชิญหัวหน้าภาควิชา และประธานหลักสูตร ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทำการสรุปบันทึกการเล่าเรื่องจากกิจกรรม
บันทึกการเล่าเรื่อง
เรื่อง แนวปฏิบัติการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์
วันที่ 10 พฤษภาคม 2561
ณ ห้องประชุมสะบันงา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สรุปความรู้ที่ได้
1. แบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์ เป็นการทำแบบสอบถามที่ย่นระยะเวลาดำเนินการทวนสอบของผู้สอน และสามารถนำผลมาใช้ได้ทันที
2. การให้นักศึกษาทำแบบทวนสอบในชั่วโมงสุดท้ายของการเรียนการสอน สามารถทำผ่านสมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ผ่าน URL ของแบบสอบถาม หรือการสแกน QR-Code เพื่อตอบแบบสอบถาม
3. ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถาม อาจารย์สามารถนำไปประมวลผลในการวิเคราะห์สถิติ เพื่อทำเป็นรูปเล่มแบบรายงานการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรได้
4. การทำทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสามารถทำได้หลายรูปแบบ ผู้สอนต้องดูความเหมาะสมด้วยว่าเหมาะกับรายวิชาไหน หรือจำนวนนักศึกษาเท่าใด ซึ่งการจัดทำแบบออนไลน์เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นตัวช่วยให้ผู้สอนใช้งานได้สะดวก และรวดเร็วในการประเมินผล
5. ในการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สามารถทำได้หลายวิจัย เพราะการประเมินเดียงชนิดเดียวไม่สามารถสะท้อนผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้จริงทั้ง 5 ด้าน ตัวอย่างการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้แก่
• แบบประเมินออนไลน์ ปลายปิด-เปิด
• การสัมภาษณ์ผู้เรียน
• ชิ้นงานของผู้เรียน
• การสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน
• การแสดงบทบาทสมมุติหลังการเรียนการสอน
6. ในส่วนของแบบประเมิน Online อาจต้องมีการปรับภาษาให้สอดคล้องกับธรรมชาติรายวิชา และจำดำของแต่ละวิชา นอกจกนั้นอาจต้องทำคำถามปลายเปิดให้มีการแสดงคำตอบข้อเขียนได้
กิจกรรมครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม 2561
• การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ในเวทีตลาดนัด KM ระดับมหาวิทยาลัย ได้นำเสนอคู่มือการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์ จากการพัฒนาจากแนวปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1 https://goo.gl/aSektG
202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th
เลขที่ 202 ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5911 โทรสาร 0-5388-5900 lib@cmru.ac.th
ชั้น 6 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 202 ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 Tel : 0-5388-5985-7 Fax : 0-5388-5987