การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Knowledge Management : KM
 

เบอร์ติดต่อ

053-885985-7

โทรสาร

053-885987

เทคนิคการจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน GEN Z


คณะวิทยาการจัดการ
“เทคนิคการจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน GEN Z”

องค์ความรู้ที่ได้  : ITDAPE FMS MODEL แนวปฏิบัติที่ดีในการใช้เทคนิค Project Base สำหรับผู้สอนเพื่อการจัดการเรียนการสอน GEN Z 

เหตุผลที่เลือกองค์ความรู้  :  
    ในปี 2561 เด็ก Gen Z เริ่มเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา สถาบันอุดมศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมต่อกับเด็ก Gen Z ด้วยความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมด้านการศึกษาที่ตอบโจทย์และเข้ากับพฤติกรรมการเรียนรู้กับเด็กกลุ่มนี้ให้ได้มากที่สุด  ครูหรืออาจารย์ผู้สอนในยุคศตวรรษที่ 21 จึงมีบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป ควรมีการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยให้แก่กันและกัน ตลอดจนการหาแนวทางปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน GEN Z ให้สามารถสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ต่อไป
 
ตัวชี้วัด (KPI) :  
    1)  ได้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน GEN Z
    2)  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีของเทคนิคการเรียนการสอน GEN Z ในระดับมาก (ระดับ 3.51)
    3)  ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ ในระดับมาก (ระดับ 3.51)

เป้าหมาย :    
    1.  อาจารย์ผู้สอนมีการแบ่งปันความรู้เรื่องเทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน GEN Z 
    2.  อาจารย์ผู้สอนมีความเข้าใจในแนวปฏิบัติที่ดีและนำไปใช้ได้จริง 
    3.  นักศึกษาเรียนอย่างมีความสุข อันจะทำให้องค์กรก้าวไปสู่การเป็นสังคมองค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป 

สรุปผลการดำเนินงานตามกระบวนการจัดการความรู้  (KM)
1.  การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็น (การบ่งชี้ความรู้)
        บทบาทของอาจารย์ผู้สอนในยุคศตวรรษที่ 21  ในการกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน GEN Z ผู้สอนควรมีองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคในการสอนที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียน ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวกการเรียนรู้ รวมถึงมีเทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่สามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้ดี 
    วิธีการสู่ความสำเร็จ 
         ประชุมคณะกรรมการการจัดการความรู้ของคณะเพื่อวางแผนแนวทางการดำเนินงานทำให้เกิดกิจกรรมการบ่งชี้ความรู้ มีการวิเคราะห์ทบทวนการจัดการความรู้ในตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 ถึง 2561 พบว่าเทคนิค Game/Technology Project Base เป็นเทคนิคที่สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน GEN Z 

2.  การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ (การสร้างและแสวงหาความรู้)
    การสำรวจรายชื่อผู้สอนที่ใช้เทคนิค Game, Technology, Project Base ในการจัดการเรียนการสอน 
    วิธีการสู่ความสำเร็จ
        การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากอาจารย์ผู้สอนของแต่ละหลักสูตรที่มีการใช้เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยสิ่งเร้าแก่นักศึกษาในกลุ่ม Generation Z ในภาคการศึกษาที่ 1/2561 ที่ใช้ชุดความรู้ Game, Technology, Project Base เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562 ณ ห้องประชุมศรีเชียงดาว ชั้น 5 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  จากกิจกรรมดังกล่าวและการประเมินผลการนำไปใช้โดยผู้สอนพบว่า 
    •  มีข้อจำกัดด้านระบบ IT ของมหาวิทยาลัยหลายประการ ที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้เทคนิค  Game หรือ Technology ในจัดการเรียนการสอน
    •  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค Project Base มีความเหมาะสมและสามารถประยุกต์ได้กับทุกหลักสูตรของคณะวิทยาการจัดการ

3.  การสร้างความรู้/แนวปฏิบัติ  (การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลและกลั่นกรองความรู้)
    การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผู้สอนที่เป็น Good Practices จากการใช้ Project Base ในภาคเรียนที่ 2/2561 เพื่อการประมวลและกลั่นกรองความรู้ด้านเทคนิคการใช้ Project Baseในการกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน GEN Z
    วิธีการสู่ความสำเร็จ
    •  การจัดกิจกรรม Focus Group กลุ่ม Good Practices จำนวน 8 ท่าน เพื่อค้นหา Best Practices
    •  การประมวลผล สังเคราะห์องค์ความรู้จาก Good Practices ได้ชุดความรู้ 6 ข้อ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการใช้เทคนิค Project Base อย่างไร ในแต่ละบทบาทของผู้สอนเพื่อการจัดการเรียนการสอน GEN Z 
    •  การจัดทำเอกสารแนวปฏิบัติที่ดีในการใช้เทคนิค Project Base อย่างไร ในแต่ละบทบาทของผู้สอนเพื่อการจัดการเรียนการสอน GEN Z

4.  การประยุกต์ใช้ความรู้/แนวปฏิบัติในงาน (การเข้าถึงความรู้)
    การจัดทำเอกสารแนวปฏิบัติที่ดีในการใช้เทคนิค Project Base อย่างไร ในแต่ละบทบาทของผู้สอนเพื่อการจัดการเรียนการสอน GEN Z 
    วิธีการสู่ความสำเร็จ
    •  เผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีในการใช้เทคนิค Project Base อย่างไร ในแต่ละบทบาทของผู้สอนเพื่อการจัดการเรียนการสอน GEN Z ในเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ 
    •  เผยแพร่ แนวปฏิบัติที่ดีในการใช้เทคนิค Project Base อย่างไร ในแต่ละบทบาทของผู้สอนเพื่อการจัดการเรียนการสอน GEN Z ในกิจกรรม “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้” ประจำปี 2562 วันที่ 23 เมษายน 2562 ห้องประชุมเอื้องไอยเรศ ชั้น 5 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
    •  อาจารย์ผู้สอนของคณะวิทยาการจัดการ นำเอกสารแนวปฏิบัติที่ดีในการใช้เทคนิค Project Base อย่างไร ในแต่ละบทบาทของผู้สอนเพื่อการจัดการเรียนการสอน GEN Z ไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 3/2561 

5.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำความรู้/แนวปฏิบัติไปใช้ (การแบ่งปันแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ การเรียนรู้) 
    การจัดกิจกรรมการจัดการความรู้ (KM) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กิจกรรม “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้” ประจำปี 2562 วันที่ 23 เมษายน 2562 ห้องประชุมเอื้องไอยเรศ ชั้น 5 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
      วิธีการสู่ความสำเร็จ
    •  การนำเสนอ Presentation เรื่อง “การใช้เทคนิค Project Base ในการจัดการเรียนการสอน GEN Z ของผู้สอนในแต่ละหลักสูตรของคณะวิทยาการจัดการ”  
    •  การนำเสนอ Best  Practice “เทคนิคการการสอนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน GEN Z.” 
     •  เผยแพร่เอกสาร แนวปฏิบัติที่ดีในการใช้เทคนิค Project Base ในแต่ละบทบาทของผู้สอนเพื่อการจัดการเรียนการสอน GEN Z
    •  การนำเสนอ Presentation เรื่อง “แนวปฏิบัติที่ดีในการใช้เทคนิค Project Base  ในแต่ละบทบาทของผู้สอนเพื่อการจัดการเรียนการสอน GEN Z.”  
    •  ผศ.ดร.สมเกียรติ อินทสิงห์ ปฏิบัติการแทนคณบดีในงานวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การบรรยาย เรื่อง “เทคนิคการสอนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน ระดับอุดมศึกษารุ่นใหม่ (Generation Z) ” พร้อมทั้งวิพากษ์ และให้ข้อเสนอแนะการใช้เทคนิค Project Base ในการจัดการเรียนการสอน GEN Z ของผู้สอนในแต่ละหลักสูตร

6.  การปรับปรุงเป็นชุดความรู้/แนวทางปฏิบัติ
    ปรับปรุงแนวปฏิบัติที่ดีในการใช้เทคนิค Project Base ในแต่ละบทบาทของผู้สอนเพื่อการจัดการเรียนการสอน GEN Z ตามข้อเสนอแนะที่ได้จากการจัดกิจกรรม KM วันที่ 23 เมษายน 2562 ห้องประชุมเอื้องไอยเรศ ชั้น 5 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ออกมาใช้รูป ITDAPE FMS MODEL
        วิธีการสู่ความสำเร็จ
    •  อาจารย์คณะวิทยาการจัดการนำชุดความรู้ ITDAPE FMS MODEL “แนวปฏิบัติที่ดีในการใช้เทคนิค Project Base ในแต่ละบทบาทของผู้สอนเพื่อการจัดการเรียนการสอน GEN Z” ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาในภาคการศึกษา 3/2561

7.  การประเมินผลการดำเนินงานและรายงานต่อมหาวิทยาลัย 
ประเมินผลตามตัว KPI ที่กำหนด ได้ผลดังนี้
ประเด็นตัวชี้วัด (KPI) :    
    1)  ได้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน GEN Z
    2)  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีของเทคนิคการเรียนการสอน GEN Z ในระดับมาก (ระดับ 3.51)
    3)  ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ ในระดับมาก (ระดับ 3.51)
ผลการดำเนินงาน
    -  เทคนิคการจัดการเรียนการสอนด้วย Project Base              
    -  มีแนวปฏิบัติที่ดี 6 ขั้นตอน เรียกว่า ITDAPE Model
    -  ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.25 
    -  ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.32

     วิธีการสู่ความสำเร็จ
    •  ใช้เทคนิค Focus Group กลุ่ม Good Practices เพื่อสังเคราะห์ กลั่นกรอง สร้างแนวปฏิบัติที่ดี
    •  การจัดทำแบบประเมิน เพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีของเทคนิคการเรียนการสอน GEN Z 
    •  การจัดทำแบบประเมิน เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนการสอน
    •  จัดทำรายการผลการประเมินต่อคณะ และมหาวิทยาลัย 


ลิงค์หน่วยงานภายนอก

การจัดการความรู้
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Knowledge Management : KM



สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา

202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทร. 0-5388-5924, โทรสาร. 0-5388-5924 admin@cmru.ac.th

สำนักหอสมุด

เลขที่ 202 ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5388-5911 โทรสาร 0-5388-5900 lib@cmru.ac.th

สำนักงานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา

ชั้น 6 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 202 ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 Tel : 0-5388-5985-7 Fax : 0-5388-5987

@สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ติดต่อผู้ดูแลระบบ : admin@cmru.ac.th